วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เกร็ดความรู้ โอลิมปิก 2012 ลอนดอนเกมส์


เกร็ดความรู้ โอลิมปิก 2012 ลอนดอนเกมส์


โอลิมปิก เกมส์ ณ กรุงลอนดอน 2012 ( โอลิมปิก ครั้งที่ 30) จะจัดขึ้นที่เมืองหลวงของประเทศอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน ในช่วงระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม – 12 สิงหาคม 2555 ลอนดอน เป็นเมืองแรกที่เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬา โอลิมปิก อย่างเป็นทางการถึง 3 ครั้ง (ครั้งที่ 1 ในปี 2451 ครั้งที่ 2 ในปี 2491 และครั้งที่ 3 ในปี 2555)
ลอนดอน ถูกเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดกีฬา โอลิมปิก ครั้งล่าสุดนี้ ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2548 ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยชนะการโหวดกับประเทศคู่แข่งได้แก่ มอสโคว นิวยอร์คซิตี้ มาดริด และปารีส โดยใช้การโหวดทั้งหมด 4 รอบ หัวหน้าผู้ดำเนินการโหวดคือ อดีตแชมป์กีฬา โอลิมปิก Sebastian Coe
ในด้านการเตรียมความพร้อม อังกฤษได้พัฒนาพื้นที่ที่จะต้องใช้เป็นสถานที่ในการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ โดยจะใช้สนามที่หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่ มีความพร้อมมาตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มมีการโหวดการเป็นเจ้าภาพจัด โอลิมปิก อยู่แล้ว สนามหลัก ๆ ได้แก่ Wembley Stadium, Wembley Arena, Wimbledon All England Club, Lord’s Cricket Ground, The O2 Arena, Earls Court Exhibition Centre, Weymouth and Portland National Sailing Academy, and the Excel Centre
การโหวตเจ้าภาพ โอลิมปิก 2012
จากการโหวตขั้นต้น เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2546 มีเมืองสำคัญจำนวน 9 เมืองที่จะได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิก ปี 2012 นี้ อันได้แก่ ฮาวาน่า อิสตันบูล ไลพ์ซิก ลอนดอน มาดริด มอสโคว นิวยอร์คซิตี้ ปารีส และดิโอเดอจานิโร ต่อมา วันที่ 18 พฤษภาคม 2547 ทางคณะกรรมการ โอลิมปิก สากล ได้ประเมินคะแนนความเหมาะสมของแต่ละเมืองที่ต้องการเป็นเจ้าภาพ อันได้แก่ เมือง ลอนดอน มาดริด มอสโคว นิวยอร์ค และ ปารีส โดยแต่ละเมืองได้ส่งเอกสารประกอบการสมัคร และได้รับการตรวจเยี่ยมสถานที่จากทีมงานของคณะกรรมการโอลิมปิกสากลระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2548 โดยประเทศที่ดูเหมือนจะมีความพร้อมมากที่สุดก็คือ ที่ ปารีส และเมืองที่มีความพร้อมรองลงมาก็คือที่ ลอนดอน ตามมาด้วยเมืองนิวยอร์คและมาดริด จนกระทั่ง วันที่ 6 กรกฎาคม 2548 การตัดสินครั้งสุดท้ายได้ถูกประกาศในงาน 117th IOC Session ที่สิงคโปร์ โดยใช้การโหวต ซึ่งเมืองแรกที่ถูกคัดออก คือ มอสโคว ต่อมาคือ เมืองนิวยอร์ค และ มาดริด ในการโหวตรอบที่สี่ ซึ่งเป็นรอบสุดท้าย ลอนดอน สามารถเอาชนะ ปารีสไปด้วยผลโหวต 54 ต่อ 50
ในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน เจ้าหน้าที่อาวุโสของคณะกรรมการ โอลิมปิก สากล ยืนยันผลการโหวต ให้ เมืองลอนดอน ได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา  โอลิมปิก ประจำปี 2012
การนับถอยหลังสู่วันจัด โอลิมปิก
ระหว่างงานปิดการแข่งขัน กีฬา โอลิมปิก ปี 2008 ที่ กรุงปักกิ่ง ธง โอลิมปิก ได้ถูกส่งมอบให้กับนายกเทศมนตรีลอนดอน 1 เดือนต่อมา ธง โอลิมปิก และพาราลิมปิกได้ถูกติดตั้งไว้ที่ ลอนดอน ซิตี้ฮอลล์
 นาฬิกานับถอยหลัง ได้ติดตั้งไว้ที่จัตุรัสทราฟัลการ์ และ เริ่มนับถอยหลัง 500 วันก่อนถึงวันเปิด โอลิมปิก
สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย ประจำ โอลิมปิก 2012 ( โลโก้ )
สัญลักษณ์การแข่งขันกีฬา โอลิมปิก ในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 แบบ แบบแรกถูกใช้สำหรับการโหวตการเป็นเจ้าภาพ ซึ่งได้รับการออกแบบโดย Kino Design และแบบที่สอง เป็นมาตรฐานที่จะใช้ในงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2012
สัญลักษณ์แบบแรกนั้น เป็นริบบิ้นที่ประกอบไปด้วย สีน้ำเงิน เหลือง ดำ เขียว และแถบสีแดง พันรอบอักษร ”ลอนดอน 2012 ” เพื่อสื่อถึงรูปร่างของแม่น้ำเทมทางตะวันออกของลอนดอน
สัญลักษณ์แบบที่สอง ออกแบบโดย Wolff Olins ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2550 และมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 400,000 ปอนด์ สัญลักษณ์ใหม่นี้ ได้นำเสนอในส่วนของตัวเลขปีที่จัดกีฬา โอลิมปิก คือ ปี 2012 และมีรูป วงแหวนโอลิมปิกทั้ง 5 อยู่ในสัญลักษณ์นี้ด้วย สัญลักษณ์นี้ จะถูกใช้ทั้งกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ใช้สัญลักษณ์แบบเดียวกันโอลิมปิก 2012 ลอนดอนเกมส์ จะใช้สัญลักษณ์นี้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือประชาชน วัยรุ่นซึ่งหลังจากที่เปิดเผยสู่สื่อสาธารณะแล้ว ในช่วงแรก จากผลสำรวจของ BBC ได้ผลในเชิงลบเป็นอย่างมาก กว่า 80 % ให้ผลโหวตที่คะแนนต่ำสุด มีสื่อหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ใช้โลโก้ของตัวเองในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 ประเทศอิหร่านได้แสดงความไม่พอใจที่สัญลักษณ์ โอลิมปิก ได้แสดงข้อความว่า Zion และตั้งใจที่จะคว่ำบาตร โดยได้ยื่นคำร้องกับคณะกรรมการ โอลิมปิก สากล โดยอธิบายว่า สัญลักษณ์ดังกล่าว แสดงถึงการเหยียดผิวโดยร้องขอให้ยกเลิกการใช้สัญลักษณ์ดังกล่าว ซึ่งทางคณะกรรมการ โอลิมปิก สากลได้ปฏิเสธคำร้องแบบเงียบ ๆ ซึ่งทางอิหร่านก็ยอมรับนักเขียน Blog ของ BBC ได้กล่าวถึง โลโก้ โอลิมปิก 2012 ว่า ได้รับการตอบรับจากคนทั้งประเทศ แต่ไม่ใช่ในทางที่ดีอย่างที่หน่วยงานจัด โอลิมปิก คาดหวังไว้ ประกอบกับ ในเดือนตุลาคม 2008 มีรายงานจากร้านค้าขายเสื้อผ้ากีฬาชั้นำหลายร้าน ซึ่งมีโซนเสื้อผ้าโอลิมปิกอยู่เพียง 5 % เท่านั้น 
เหรียญรางวัล 
จำนวนทั้งหมดของเหรียญรางวัล มีจำนวนกว่า 4,700 เหรีญ (รวม โอลิมปิก และ พาราลิมปิก ) จัดทำโดย Royal Mint เหรียญรางวัลถูกออกแบบโดย David Watkins น้ำหนักโดยประมาณ 375-400 กรัม และหนา 7 มิลลิเมตร สลักด้วยประเภทกีฬาและตัวอักษรที่ระลึกอยู่ที่ขอบเหรียญ ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปของเทพเจ้าแห่งชัยชนะของกรีก ก้าวเดินจากวิหารพาร์ทีนอนในกรุงเอเธนส์ อีกด้านหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเจ้าภาพ ได้แก่แม่น้ำเทมป์และสัญลักษณ์แสดงพลังของนักกีฬา
การวิ่งคบเพลิง
จะเริ่มวิ่งระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม – 27 กรกฎาคม 2012 รวมระยะเวลา 70 วัน โดยจะวิ่งผ่านทั้งหมด 6 เกาะ โดยใช้ผู้ถือคบเพลิงประมาณ 8,000 คน โดยใช้ระยะทางวิ่ง 300 เมตรต่อคน โดยจุดเริ่มต้นของคบเพลิงอยู่ที่ แลนด์เอน (Land’s End) คบเพลิงจะใช้เวลา 1 วันนอกสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะถึงดับลินในวันที่ 6 มิถุนายน 2012 การวิ่งคบเพลิงจะเน้นผ่านสถานที่สำคัญ เช่น สถานที่ที่เป็น National Heritage Site (สถานที่สำคัญ) สถานที่ที่มีความหมายด้านการกีฬา สถานที่ที่เป็นอนุสรณ์ทางการกีฬา โรงเรียนที่จดทะเบียนกับเครือข่ายของ Get Set School (ทางด้าน โอลิมปิก และพาราลิมปิก) พื้นที่สีเขียวและเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ สถานที่จักกิจกรรมของชุมชนที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ สถานที่จัดงานสำคัญต่างๆ
กำหนดการเปิดงานแข่งขัน กีฬา โอลิมปิก
งานเปิดจะใช้ชื่อว่า ‘The Isles of Wonder’ โดย Danny Boyle ผู้ชนะรางวัลออสก้าในสาขากำกับการแสดง จะเป็นผู้กำกับศิลปการแสดง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2012 มีการยืนยันว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และ เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ จะเสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิดอย่างเป็นทางการด้วย
มาสคอต โอลิมปิก 2012 ( MASCOT London 2012 ) 
ประเทศที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา โอลิมปิก 2012
มีทั้งหมด 153 ประเทศ จากชาติ สมาชิกทั้งหมด 204 ประเทศ ได้แก่
  • ประเทศอัฟกานิสถาน – Afghanistan ประเทศคาซัคสถาน – Kazakhstan
  • ประเทศแอลเบเนีย – Albania ประเทศเคนยา – Kenya
  • ประเทศแอลจีเรีย – Algeria ประเทศเกาหลีเหนือ – North Korea
  • ประเทศอเมริกันซามัว – American Samoa ประเทศเกาหลีใต้ – South Korea
  • ประเทศอันดอร์รา – Andorra ประเทศคูเวต – Kuwait
  • ประเทศแองโกลา – Angola ประเทศคีร์กีซสถาน – Kyrgyzstan
  • ประเทศแอนติกาและบาร์บูดา – Antigua and Barbuda ประเทศลัตเวีย – Latvia
  • ประเทศอาร์เจนตินา – Argentina ประเทศเลบานอน – Lebanon
  • ประเทศอาร์เมเนีย – Armenia ประเทศไลบีเรีย – Liberia
  • ประเทศออสเตรเลีย – Australia ประเทศลิเบีย – Libya
  • ประเทศออสเตรีย – Austria ประเทศลิทัวเนีย – Lithuania
  • ประเทศอาเซอร์ไบจาน – Azerbaijan ประเทศลักเซมเบิร์ก – Luxembourg
  • ประเทศบาฮามาส – Bahamas ประเทศมาดากัสการ์ – Madagascar
  • ประเทศบาห์เรน – Bahrain ประเทศมาเลเซีย – Malaysia
  • ประเทศบาร์เบโดส – Barbados ประเทศมอลตา – Malta
  • ประเทศเบลารุส – Belarus ประเทศเม็กซิโก – Mexico
  • ประเทศเบลเยียม – Belgium ประเทศมอลโดวา – Moldova
  • ประเทศเบอร์มิวดา – Bermuda ประเทศมองโกเลีย – Mongolia
  • ประเทศโบลิเวีย – Bolivia ประเทศมอนเตเนโกร – Montenegro
  • ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา – Bosnia and Herzegovina ประเทศโมร็อกโก – Morocco
  • ประเทศบอตสวานา – Botswana ประเทศโมซัมบิก – Mozambique
  • ประเทศบราซิล – Brazil ประเทศนามิเบีย – Namibia
  • หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน – British Virgin Islands ประเทศเนเธอร์แลนด์ – Netherlands – ประเทศฮอลแลนด์
  • ประเทศบัลแกเรีย – Bulgaria ประเทศนิวซีแลนด์ – New Zealand
  • ประเทศบุรุนดี – Burundi ประเทศไนจีเรีย – Nigeria
  • ประเทศแคเมอรูน – Cameroon ประเทศนอร์เวย์ – Norway
  • ประเทศแคนาดา – Canada ประเทศโอมาน – Oman
  • หมู่เกาะเคย์แมน – Cayman Islands ประเทศปากีสถาน – Pakistan
  • สาธารณรัฐแอฟริกากลาง – Central African Republic ประเทศปานามา – Panama
  • ประเทศชิลี – Chile ประเทศปาปัวนิวกินี – Papua New Guinea
  • ประเทศจีน – China ประเทศปารากวัย – Paraguay
  • ประเทศโคลัมเบีย – Colombia ประเทศเปรู – Peru
  • ประเทศคองโก – Congo ประเทศฟิลิปปินส์ – Philippines
  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก – DR Congo ประเทศโปแลนด์ – Poland
  • หมู่เกาะคุก – Cook Islands ประเทศโปรตุเกส – Portugal
  • ประเทศคอสตาริกา – Costa Rica ประเทศเปอร์โตริโก – Puerto Rico
  • ประเทศไอวอรี่โคสต์์ – Cote d Ivoire ประเทศกาตาร์ – Qatar
  • ประเทศโครเอเชีย – Croatia ประเทศโรมาเนีย – Romania
  • ประเทศคิวบา – Cuba ประเทศรัสเซีย – Russia
  • ประเทศไซปรัส – Cyprus ประเทศรวันดา – Rwanda
  • สาธารณรัฐเช็ก – Czech Republic ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส – Saint Kitts and Nevis
  • ประเทศเดนมาร์ก – Denmark ประเทศเซนต์ลูเซีย – Saint Lucia
  • ประเทศจิบูตี – Djibouti ประเทศซามัว – Samoa
  • ประเทศโดมินิกา – Dominica ประเทศซานมารีโน – San Marino
  • สาธารณรัฐโดมินิกัน – Dominican Republic ประเทศซาอุดีอาระเบีย Saudi Arabia
  • ประเทศเอกวาดอร์ – Ecuador ประเทศเซเนกัล – Senegal
  • ประเทศอียิปต์ – Egypt ประเทศเซอร์เบีย – Serbia
  • ประเทศเอลซัลวาดอร์ – El Salvador ประเทศเซียร์ราลีโอน Sierra Leone
  • ประเทศเอริเทรีย – Eritrea ประเทศสิงคโปร์ Singapore
  • ประเทศเอสโตเนีย – Estonia ประเทศสโลวาเกีย – Slovakia
  • ประเทศเอธิโอเปีย – Ethiopia ประเทศสโลวีเนีย – Slovenia
  • ประเทศฟิจิ – Fiji ประเทศแอฟริกาใต้ South Africa
  • ประเทศฟินแลนด์ – Finland ประเทศสเปน – Spain
  • ประเทศฝรั่งเศส – France ประเทศซูดาน – Sudan
  • ประเทศกาบอง – Gabon ประเทศสวีเดน – Sweden
  • ประเทศจอร์เจีย – Georgia ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ – Switzerland
  • ประเทศเยอรมัน – Germany ประเทศซีเรีย – Syria
  • ประเทศกานา – Ghana ไต้หวัน จีนไทเป – Chinese Taipei
  • สหราชอาณาจักร – Great Britain – ประเทศอังกฤษ ประเทศทาจิกิสถาน – Tajikistan
  • ประเทศกรีซ – Greece ประเทศแทนซาเนีย – Tanzania
  • ประเทศเกรเนดา – Grenada ประเทศไทย – Thailand
  • ประเทศกัวเตมาลา – Guatemala ประเทศตรินิแดดและโตเบโก – Trinidad and Tobago
  • ประเทศกินี-บิสเซา Guinea-Bissau ประเทศตูนิเซีย – Tunisia
  • ประเทศกายอานา – Guyana ประเทศตุรกี – Turkey
  • ประเทศเฮติ – Haiti ประเทศเติร์กเมนิสถาน – Turkmenistan
  • ประเทศฮ่องกง – Hong Kong ประเทศยูกันดา – Uganda
  • ประเทศฮังการี – Hungary ประเทศยูเครน – Ukraine
  • ประเทศไอซ์แลนด์ – Iceland สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ – United Arab Emirates
  • ประเทศอินเดีย – India สหรัฐอเมริกา – United States
  • ประเทศอินโดนีเซีย – Indonesia ประเทศอุรุกวัย – Uruguay
  • ประเทศอิหร่าน – Iran ประเทศอุซเบกิสถาน – Uzbekistan
  • ประเทศไอร์แลนด์ – Ireland ประเทศเวเนซุเอลา – Venezuela
  • ประเทศอิสราเอล – Israel ประเทศเวียดนาม – Vietnam
  • ประเทศอิตาลี – Italy หมู่เกาะเวอร์จิน – Virgin Islands
  • ประเทศจาเมกา – Jamaica ประเทศแซมเบีย – Zambia
  • ประเทศญี่ปุ่น – Japan ประเทศซิมบับเว – Zimbabwe
  • ประเทศจอร์แดน – Jordan
 
ข้อมูล โอลิมปิก จากสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย
โอลิมปิก ลอนดอน 2012
ในขณะที่การแข่งขันมหกรรม กีฬา โอลิมปิก เกมส์ ลอนดอน 2012 และกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ ใกล้เข้ามาทุกขณะ ทั่วโลกต่างก็ให้ความสนใจไปที่สหราชอาณาจักรเช่นเดียวกัน
มหกรรม กีฬา โอลิมปิก เกมส์ นั้นถือเป็นโอกาสพิเศษสุดในการเชิญชวนให้ผู้คนจากทุกมุมโลกหันมามองประเทศอังกฤษในยุคใหม่ได้อย่างแท้จริง อังกฤษซึ่งเราต่างคิดว่าเป็นประเทศที่เปิดกว้าง มีการเชื่อมโยงติดต่อกับทุกประเทศ เปี่ยมไปด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์
อังกฤษเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก
สหราชอาณาจักรชนะการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมกีฬา โอลิมปิก ซึ่งมหกรรม กีฬา โอลิมปิก เกมส์ ในปีค.ศ. 2012 จะจัดให้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม ถึงวันที่ 12 สิงหาคม และ กีฬา พาราลิมปิกเกมส์ จะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 29 สิงหาคม จนถึงวันที่ 9 กันยายน ในปีเดียวกัน
ทำไมถึงเป็นกรุงลอนดอน
ในปีค.ศ. 2003 นั้น 9 เมืองใหญ่ทั่วโลกต่างยื่นเสนอตัวเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน มหกรรมกีฬา โอลิมปิก ในปีค.ศ. 2012 จากจำนวน 9 เมืองเมื่อแรกเริ่มนั้น คณะกรรมการ โอลิมปิก สากลได้พิจารณาประเมินและคัดเลือกให้เหลือเพียง 5 เมืองในเวลาต่อมา คือ ลอนดอน มาดริด มอสโคว์ นิวยอร์ค และปารีส และแม้ว่าเมืองใหญ่อย่าง มาดริด และ ปารีส ล้วนถูกคาดหมายว่าเป็นตัวเต็งในการที่จะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ แต่ในที่สุดแล้วได้มีการประกาศผลการคัดเลือกในปีค.ศ. 2005 ให้กรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กีฬา โอลิมปิก โดยได้รับคะแนนเฉือนชนะกรุงปารีสไปเพียงไม่กี่คะแนนเท่านั้น
การที่กรุงลอนดอนได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กีฬา โอลิมปิก เกมส์ ในครั้งนี้นั้น ถือได้ว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง ด้วยกรุงลอนดอนนั้นได้รับเกียรติให้เป็นเมืองแรกในโลกที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬา โอลิมปิก เกมส์เป็นครั้งที่สามแล้ว ส่วนกีฬา พาราลิมปิกส์ ในปีค.ศ. 2012 นั้น จะเป็นการจัดการแข่งขันกันเป็นครั้งที่ 14 โดยเป็นการแข่งขันกีฬาของเหล่านักกีฬาผู้มีความพิการทางกายภาพ
สถานที่จัดการแข่งขัน
กรุงลอนดอนนั้นกำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงอย่างสิ้นเชิงเพื่อรองรับการแข่งขันกีฬา โอลิมปิก เกมส์นี้ โดยจะมีการผสมผสานการใช้งานทั้งอาคารใหม่ อาคารเก่า อาคารประวัติศาสตร์ อาคารชั่วคราวและอาคารศูนย์รวมครบวงจร เป็นสถานที่จัดการแข่งขัน ได้แก่ Wembley Stadium, Wembley Arena, Wimbledon All England Club, Lord’s Cricket Ground, The O2 Arena, Earls Court Exhibition Centre, Weymouth and Portland National Sailing Academy, and the Excel Centre
มหานครลอนดอนจะถูกแบ่งออกเป็น สามโซน ด้วยกัน คือ
โอลิมปิก โซน: จะมีการก่อสร้างอุทยานโอลิมปิกขึ้นที่สแตรทฟอร์ด ที่ตั้งอยู่ในด้านตะวันออกของกรุงลอนดอน ซึ่งในปัจจุบันนั้นเป็นที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมและที่รกร้างว่างเปล่า อุทยาน โอลิมปิก จะเป็นที่ตั้งของสนามกีฬา โอลิมปิก ศูนย์กีฬาทางน้ำ และหมู่บ้านนักกีฬา โอลิมปิก ซึ่งจะใช้เป็นที่พักของนักกีฬาและเจ้าหน้าที่
โซนแม่น้ำ: โซนนี้ประกอบไปด้วย พื้นที่หลักห้าแห่ง ด้วยกันที่ล้วนตั้งอยู่ริมแม่น้ำเทมส์ ซึ่งรวมถึง สนามโอทู (O2 Arena) ที่เดิมนั้นรู้จักกันในชื่อว่า “มิลเล็นเนี่ยมโดม” และศูนย์จัดงานแสดงเอ็กซ์เซล (Excel Exhibition Centre)
สนามโอทู (O2 Arena) ที่เดิมนั้นรู้จักกันในชื่อว่า “มิลเล็นเนี่ยมโดม”
โซนกลาง: โซนนี้ประกอบไปด้วยที่ตั้งโดยรอบใจกลางและด้านตะวันตกของกรุงลอนดอน เช่น สนามวิลเบิลดัน และ ไฮด์ปาร์ค นอกจากนี้ กีฬาอย่างอื่นอีกหลายประเภทจะจัดให้มีการแข่งขันนอกกรุงลอนดอน เช่น การแข่งพายเรือและการแข่งเรือใบ ซึ่งจะจัดให้มีการแข่งกันที่ เมืองเวย์มัธ ในแคว้นดอร์เซ็ททางชายฝั่งตอนใต้ของประเทศอังกฤษ
ระบบขนส่ง
แม้ว่าระบบขนส่งเชื่อมโยงสาธารณะในกรุงลอนดอนจะแข็งแกร่งอยู่แล้วก็ตาม คณะกรรมการฯ ยังคงเห็นควรให้มีการก่อสร้างระบบขนส่งเพิ่มมากขึ้นอีก เพื่อให้มั่นใจว่าสาธารณะชนจะสามารถเดินทางไปถึงสถานที่แข่งขันได้ทันเวลาและด้วยความสะดวกสบายในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ระบบขนส่งสาธารณะของกรุงลอนดอนจะได้รับการก่อสร้างต่อขยายในส่วนของระบบรถไฟฟ้าใต้ดินทางด้านตะวันออกของกรุงลอนดอน นอกจากนี้ จะยังมีการปรับปรุงยกระดับเส้นทางรถไฟสายด๊อคแลนด์อีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการฯ ยังมีแผนที่จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงจุดต่างๆ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า โอลิมปิก จาเวลิน โดยรถไฟฟ้าขบวนนี้จะสามารถบรรทุกผู้โดยสารจากสถานีรถไฟนานาชาติเซ็นต์แพนคราส (ซึ่งเป็นที่ตั้งของรถไฟยูโรสตาร์) ไปยังอุทยาน โอลิมปิก และจะมีการเสริมสร้างจุดจอดรถเพื่อเดินทางต่อด้วยยานพาหนะขนส่งในจุดต่างๆ ตามเส้นทางหลวงสายเอ็ม 25 (ทางหลวงรอบกรุงลอนดอน) อีกด้วย โดยจะมีการนำยานพาหนะที่มีการปลดปล่อยมลพิษต่ำมาใช้ในการขนส่งด้วยระบบนี้
พันธมิตรหลักที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบขนส่งสาธารณะนี้ประกอบไปด้วย สำนักงานขนส่งแห่งกรุงลอนดอน (Transport for London) กระทรวงคมนาคม (Ministry of Transport) และสำนักงานทางหลวง (Highways Agency)
ขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia.com และ เว็บไซด์สถานทูตอังกฤษ และ educatepark.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น