วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สวดมนต์ข้ามปี

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย เตรียมจัดกิจกรรม “สวดมนต์ข้ามปี” เป็นครั้งที่ 3 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมกันสร้างมหากุศลครั้งยิ่งใหญ่ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานคณะกรรมการจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี เปิดเผยว่า ในปี 2555 นี้ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีของคนไทยทุกคน ที่จะได้ร่วมกันเฉลิมฉลองปีพุทธชยันตี และที่สำคัญ คือ จะได้สวดมนต์ถวายพระพรชัยมงคล เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 85 พรรษา โดยภายในงานดังกล่าวจะมีการสวดมนต์หลายบทด้วยกัน อาทิ บทสวดมนต์อิติปิโส บทโพชฌังคะปริตร และบทพระคาถาถวายพระพรชัยมงคล ภูมิพลมหาราชวรัสสะ ชัยมงคลคาถา ซึ่งเป็นบทสวดมนต์ เพื่อขอถวายพระพรชัย ขอพระองค์ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน มีพระพลานามัยสมบูรณ์ทรงพระเกษมสำราญ ปราศจากภัยพิบัติ และขอพระองค์ทรงสถิตสถาพรอยู่ในมไหศวรรยาธิปัตย์เป็นศูนย์รวมใจของพสกนิกรชาวไทยถ้วนหน้า

ดังนั้น สสส. ขอเชิญประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ มาร่วมกันสร้างมหากุศลถวายแด่พ่อหลวง และเพื่อเป็นการต้อนรับปีใหม่ 2556 ด้วยการตั้งจิตอธิษฐานให้เกิดความ เป็นสิริมงคล ความเจริญรุ่งเรือง ความสุขสวัสดี แก่ประเทศชาติ ศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ และปวงชนชาวไทย โดยให้กิจกรรมนี้เป็นทางเลือกที่ดีในการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ในคืนวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ แทนการสังสรรค์ เคาท์ดาวน์ ดื่มเหล้า เหมือนที่นิยมทำกันมา และให้เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญในการสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คนไทย

ศ.นพ.อุดมศิลป์ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่หวังจะทำสิ่งดี ๆ เพื่อเป็นการส่งท้ายปีเก่า และเริ่มก้าวเข้าสู่ปีใหม่ด้วยความเป็นมงคลของชีวิต สามารถเดินทางไปร่วมกิจกรรมได้ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานครสนามหลวง และจังหวัดตัวแทนภาคทั้ง 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น,ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา และภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช รวมถึงวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ  แต่หากไม่สะดวกเดินทางก็สามารถสวดมนต์ที่บ้านได้เช่นกัน



รวมวัด – สถานที่จัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2556


           สถานที่จัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2555-2556 แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนกลาง และภูมิภาค

          1.ส่วนกลาง จัดที่ สนามหลวง จ.กรุงเทพฯ
          กำหนดการสวดมนต์ข้ามปี ครั้งที่ 3/2555– 2556 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร*

          วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม 2555

           เวลา 16.00 น. 
               - เริ่มกิจกรรมรอบ ๆ บริเวณการจัดงาน / พิธีกรประชาสัมพันธ์การจัดงาน
               - การสวดมนต์หมู่ฯ ทำนองสรภัญญะ ระดับประถม / มัธยม

           เวลา 17.00 น. 
               - การบรรยายธรรม "คิดดี ทำดี เริ่มต้นสวดมนต์รับปีใหม่" โดย พระราชธรรมวาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน) วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร 

           เวลา 18.00 น. เข้าสู่พิธีการมหามงคลช่วงที่ 1 ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่
               - ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ กระทรวง ทบวง กรม ทหารตำรวจ ประมุขสงฆ์ แขกผู้มีเกียรติ
เดินทางมาถึงในพิธี

           เวลา 18.45 น. 
          - ประธานในพิธีฝ่ายบรรพชิต พระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม และคณะสงฆ์ เข้านั่งประจำที่ เพื่อเตรียมประกอบศาสนพิธี

           เวลา 19.00 น. 
               - นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประธานในพิธีฝ่ายคฤหัสถ์ เดินทางถึงมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ก่อนจุดธูปเทียนบูชาเครื่องนมัสการพระรัตนตรัย เปิดกรวย ถวายสักการะ ที่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               - ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานคณะกรรมการจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2555-2556 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2555-2556
               - นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานสวดมนต์ข้ามปี 2555-2556
               - การแสดงพิธีเปิดงานชุด พุทธบูชา แด่โลกาแห่งสัมพุทธชยันตี (คณะดีดี๊ดี เวลา 10 นาที)
               - นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี, นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และศาสตราจารย์ นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานคณะกรรมการจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี จุดเทียนมหามงคล
               - เจ้าหน้าที่อาราธนาพระปริตร
               - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
               - ขณะพระสงฆ์สวดถึงบทมงคลสูตร (อเสวนา) เจ้าหน้าที่เชิญเทียนชนวนมอบนายกรัฐมนตรี จุดเทียนนํ้าพระพุทธมนต์ และเจ้าหน้าที่ประเคนหม้อนํ้าพระพุทธมนต์แด่ประธานสงฆ์ จากนั้นจึงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม แด่ประธานสงฆ์
               - นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการจัดงาน กรวดนํ้า รับพร และถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องในโอกาสมงคลขึ้นปีใหม่ และเพื่อความสถิตสถาพรแห่งพระพุทธศาสนา

           เวลา 20.00 น. 
               - การแสดงชุด "พุทธะ ราชะ เดอะมิวสิคคัล" องค์ที่ 1 พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
               - การแสดงธรรมเทศนาและนำสวดมนต์ช่วงที่ 1 โดยแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

           เวลา 20.40 น. 
               - การแสดงชุด "พุทธะ ราชะ เดอะมิวสิคคัล" องค์ที่ 2 ธรรมดาของโลก
               - การแสดงธรรมเทศนา โดย พระ ว.วชิรเมธี (VTR)

           เวลา 21.20 น. 
               - การแสดงชุด "พุทธะ ราชะ เดอะมิวสิคคัล" องค์ที่ 3 บำเพ็ญทุกรกิริยา
               - นำสวดมนต์ช่วงที่ 3 โดยคณะสงฆ์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

           เวลา 22.30 น. พิธีการมหามงคลช่วงที่ 2 ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นำเข้าการถ่ายทอดสด
               - หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานในพิธีฝ่ายคฤหัสถ์ จุดธูปเทียนบูชาเครื่องนมัสการ และเปิดกรวย ถวายสักการะ ที่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               - ประธานคณะกรรมการจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2555-2556 สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม) กล่าวรายงานการ ดำเนินงานในการจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี
               - ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึง แนวทางการสนับสนุนการจัดกิจกรรม สวดมนต์ข้ามปีของกรุงเทพมหานคร
               - พิธีกรกล่าวนำเข้ากิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี

          เวลา 22.50 น.
               - การแสดงชุด "พุทธะ ราชะ เดอะมิวสิคคัล" องก์ที่ 4 (องค์สุดท้าย) ผจญมาร

           เวลา 23.20 น. 
               - ประธานในพิธีฝ่ายบรรพชิต พระธรรมโกษาจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม แสดงธรรมเทศนา จากนั้นประธานในพิธีฝ่ายบรรพชิตและคณะสงฆ์นำประชาชนเจริญพระพุทธมนต์ และสวดมนต์ข้ามปี
               - สวดบทอิติปิโส จนครบ 85 จบ


            วันอังคารที่ 1 มกราคม 2556
          
            
 เวลา 01.00 น. 
               - พระสงฆ์ทั้งปวงเจริญชยันโตชยมงคลคาถา 9 รอบ เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่ประเทศชาติศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ และประชาชนชาวไทย
               - พระสงฆ์ประพรมนํ้าพระพุทธมนต์แก่ประชาชนเพื่อเป็นสิริมงคล
               - พระเถระองค์ประธานสงฆ์ ประกอบพิธีดับเทียนมหามงคล
               - พระสงฆ์จตุรวรรคสวดคาถาดับเทียนมหามงคล เพื่อความปลอดพ้นจากทุกข์โศก โรคภัยวิกฤตของบ้านเมือง และเพื่อความเป็นสิริมหามงคลแก่ประเทศชาติบ้านเมือง

           เวลา 01.30 น. 
               - จบช่วงพิธีการ
               - มหรสพบันเทิงฉลองปีใหม่ จนเข้าสู่เช้าวันที่ 1 มกราคม 2556

           เวลา 06.00 น. 
               - พิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่

* หมายเหตุ หมายกำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


รายชื่อวัดที่ในกรุงเทพที่เข้าร่วมโครงการ มีดังนี้ 

               วัดปัญญานันทาราม, วัดสายไหม, วัดอมรินทรารามวรวิหาร, วัดโสมนัสราชวรวิหาร, วัดราชนัดดาราม, วัดประยุรวงศาวาส,  วัดกัลยาณมิตร,  วัดเทพธิดาราม, วัดราชโอรสาราม, วัดไตรมิตรวิทยาราม, วัดเจริญธรรมาราม, สำนักสงฆ์แทนวันดีเจริญสุข, วัดพรหมวงศาราม, วัดพิชัยญาติการามวรวิหาร, วัดราชสิงขร, วัดธรรมมงคล, วัดบางโพโอมาวาส , วัดยานนาวา, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร, วัดมหรรณพารามวรวิหาร, วัดหงส์รัตนาราม, วัดบพิตรพิมุข, วัดบวรมงคล, วัดปรินายก, วัดเทวราชกุญชร, วัดนาคกลาง, วัดอินทรวิหาร, วัดอินทรวิหาร, วัดชิโนรสารามวรวิหาร, วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม, วัดนางชี, วัดอาวุธวิกสิตาราม, วัดดอนเมือง 

               วัดเขมาภิรตา, วัดราชผาติการาม, วัดบรมนิวาส, วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม, วัดเครือวัลย์วรวิหาร, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดชัยพฤกษมาลา, วัดเทพศิรินทราวาส, วัดนาคปรก, วัดทุ่งลานนา, วัดเทพลีลา, วัดสังข์กระจาย   วัดดาวดึงษ์, วัดสุวรรณประสิทธิ์, วัดสร้อยทอง, วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก, วัดปทุมคงคาราช วรวิหาร, วัดสุทัศนเทพวราราม, วัดราชสิทธาราม, วัดพิชยญาติการาม, วัดหนัง, วัดตรีทศเทพ, วัดมหาพฤฒาราม, วัดคฤหบดี, วัดเวฬุราชิณ, วัดปากน้ำ, วัดหลักสี่, วัดอินทรวิหาร, วัดไผ่เหลือง, วัดชิโนรสาราม วรวิหาร

               วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดปทุมวนาราม, วัดสุวรรณาราม, วัดมกุฏกษัตริยาราม, วัดระฆังโฆสิตาราม, วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม, วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร, วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์, วัดภาษีวัดนวลจันทร์, วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต, วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร, วัดหัวลำโพง, วัดบางเตย, วัดพระศรีมหาธาตุวัดมหรรณพารามวรวิหาร, วัดอรุณราชวราราม, วัดจักรวรรดิราชาวาส, วัดอนงคาราม, วัดรัชฎาธิษฐาน, วัดสังเวชวิศยาราม, วัดสัมพันธวงศ์, วัดดาวดึงษาราม, วัดทองนพคุณ, วัดนิมมานรดี, วัดบางนาใน และวัดบางขุนเทียนนอก


          2. ส่วนภูมิภาค จัดที่จังหวัดตัวแทน 4 ภาค ประกอบด้วย
          ภาคเหนือ 

                ตัวแทนจังหวัดที่จัดกิจกรรมใหญ่ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ อาทิ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร, วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร, วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร, วัดโพธารามมหาวิหาร, วัดสวนดอก, วัดท่าตอน, วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร และวัดป่าดาราภิรมย์

                สำหรับวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือที่ร่วมจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2556 เช่น วัดประชุมโยธี, วัดท่าเรือ, วัดมงคลมิ่งเมือง, วัดสระเภาวัดสุทธาวาส, วัดเอกวัดไทรงาม, วัดเจดีย์, วัดท้ายสำเภา, วัดท่าสูง, วัดไตรวิทยาราม, วัดป่าบอนต่ำวัดขันเงินวัดสุนทรประชาราม, วัดหน้าเมือง, วัดแจ้ง, วัดมาตุคุณาราม, วัดบ่อล้อ, วัดนันทาราม, วัดเสาธง, วัดดุลยาราม, วัดควนปริง, วัดสุทธิชลารามวัดนพวงศาราม, วัดนิโครธาราม, วัดโคกชะงาย,  วัดดอนศาลา,  วัดชุมพรสังสรรค์, วัดปากน้ำชุมพรวัดดอกสร้อย, วัดสันติวราราม, วัดอภยาราม, วัดสุนทราวาส, วัดโพธิการามวัดบ้านควน , วัดบ่อสระวัดคลองท่อม  สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสตูล แห่งที่ 1, วัดพังดาน, วัดป่าวังเจริญ, วัดเหนือคลอง และวัดถ้ำเสือ เป็นต้น


          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
        
           ตัวแทนจังหวัดที่จัดกิจกรรมใหญ่ ได้แก่ จ.ขอนแก่น อาทิ วัดธาตุ, วัดหนองแวง, วัดศรีจันทร์, วัดโพธิ์ชัย, วัดมารวิชัย, วัดฝางศรีงามราษฎร์, วัดเกาะแก้ววราราม, วัดศรีบุญเรือง, วัดสระแก้ว และวัดสว่างอารมณ์

           สำหรับวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ร่วมจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2556เช่น วัดนครธรรม, วัดศรีชมชื่น, วัดสระเกษ, วัดมงคลโกวิทาราม, วัดโพธิ์ชัย, วัดกุฎวารีสวัสดิ์, วัดหลวงสุมังคลาราม, วัดมหาธาตุ, วัดวชิราลงกรณ์วราราม, วัดกลาง, วัดศาลาลอย, วัดป่าบ้านค้อ, วัดโพนวิมาน , วัดนาโป่ง, วัดมงคลโกวิทาราม, วัดสวนสวรรค์, วัดป่าโนนกุดหล่ม, วัดพิศาล, วัดดอกจานรัตนาราม, วัดสมุทรการ, วัดโคกศรีสะเกษ, วัดแก้วรังษี, วัดโพธิศิลา, วัดปอแดง, วัดทุ่งโพธิ์   วัดสะเดารัตนาราม , วัดศรีบุรีรตนาราม, วัดบ้านอ้น, วัดศรีสวัสดิ์, วัดหนองแวง, วัดพิศาลรัญญาวาส, วัดศรีจันทร์, วัดกลางมิ่งเมือง, วัดสุปัฏนาราม, วัดสำราญนิเวศ, วัดพระธาตุพนม, และวัดราษฎร์บำรุง เป็นต้น


          ภาคกลาง 

           ตัวแทนจังหวัดที่จัดกิจกรรมใหญ่ ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา อาทิ วัดโสธรวรารามวรวิหาร, วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง), วัดอภัยภาติการาม, วัดเทพนิมิตร, วัดพยัคฆาอินทาราม (วัดเจดีย์), วัดแหลมบน  (สายชล  ณ  รังษี), วัดสัมปทวนนอก และวัดโพธิ์บางคล้า

           สำหรับวัดอื่น ๆ ในภาคกลางที่ร่วมจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2556 เช่น วัดปัญญานันทาราม, วัดสายไหม, วัดละหาร, วัดตาลเอน, วัดพยัคฆาราม, วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม, วัดโฆษา (ท่าช้าง), วัดศรีวนาราม, วัดบ้านน้อย, วัดชลอ, วัดบางปลากด, วัดกลางวรวิหาร, วัดราษฎร์บำรุง (หงอนไก่), วัดหนองสองห้อง, วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ, วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดจันทน์กะพ้อ, วัดมณีชลขันธ์, วัดนาควัชรโสภณ, วัดไพรสณฑ์ศักดาราม, วัดนิเวศธรรมประวัติ, วัดศาลาปูน, วัดพรหมนิวาส, วัดวิเวกวายุพัด, วัดสิริจันทรนิมิตร, วัดนครสวรรค์, วัดชุมพลนิกายาราม, วัดวรนายกรังสรรค์เจติยบรรพตาราม   วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม, วัดบางน้ำผึ้งนอก, วัดบางกระสอบ, วัดบางหญ้าแพรก  และวัดบางหัวเสือ เป็นต้น


          ภาคใต้ 

           ตัวแทนจังหวัดที่จัดกิจกรรมใหญ่ ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช อาทิ วัดมะนาวหวาน, วัดแจ้ง, วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร, วัดท่าโพธิ์, วัดธาตุน้อย, วัดสุทธจินดา, วัดอิสาน และ วัดปอแดง

           สำหรับวัดอื่น ๆ ในภาคใต้ที่ร่วมจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2556 เช่น วัดประชุมโยธี, วัดท่าเรือ, วัดมงคลมิ่งเมือง, วัดสระเภา, วัดสุทธาวาส, วัดเอก, วัดหูแกง, วัดท่าลิพง, วัดประดู่พัฒนาราม, วัดบูรณาวาส, วัดป่าลีไลยก์, วัดสามบ่อ, วัดโพหวาย, วัดอุปนันทาราม, วัดกระบี่น้อย, วัดท่าไทร, วัดไตรธรรมาราม, วัดแก้วโกรวาราม, วัดชัยมงคล, วัดมุจลินทวาปีวิหาร, วัดชลธาราสิงเห, วัดเกาะเพชร, วัดธาตุน้อย, วัดไทรงาม, วัดเจดีย์, วัดท้ายสำเภา, วัดท่าสูง, วัดไตรวิทยาราม, วัดป่าบอนต่ำ, วัดมะกรูด, วัดพัฒนาราม, วัดทุ่งไผ่, วัดตะโหมด, วัดก้างปลา, วัดทะเลปัง, วัดเขาปรีดี, วัดควนกาหลง, วัดลานแซะ, วัดคลองเปล, วัดนิกรวราราม, วัดกิตติสังฆาราม และสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสตูล แห่งที่ 1 เป็นต้น

          การสวดมนต์ข้ามปีเป็นการทำดีแบบง่าย ๆ แถมยังส่งผลให้จิตใจผ่องใส สติปัญญาฉับไวอีกด้วย หากใครที่ยังไม่เคยไปสวดมนต์ข้ามปี และยังไม่รู้ว่าในช่วงสิ้นปีนี้จะทำกิจกรรมอะไรดี ๆ นั้น ลองถือโอกาสนี้เปลี่ยนพฤติกรรม ไปเข้าวัดเข้าวา กันดูบ้าง แล้วจะพบว่าการสวดมนต์ข้ามปีให้อะไรดี ๆ มากกว่าที่คิดนะคะ 

          ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2556 และอยากเช็ครายชื่อวัดใกล้บ้านที่ร่วมจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ybat.org , dhammasiri.or.th
www.kapook.com

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พระราชประวัติ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น ( MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ ( MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา




เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) เมืองโลซานน์ (LASAGNA) ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติ ในระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมืองโลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ



ครั้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระนามว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา เท่านั้น ยังไม่บรรลุนิติภาวะ





คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนารทนเรนทร และพระยามานวราชเทวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงบรรลุนิติภาวะ ทั้งยังทรงมีภารกิจในการศึกษาต่ออีกอย่างหนี้ด้วย ทรงเสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 และเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์แทนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องด้วยทรงคำนึงถึงพระราชภารกิจในการปกครองประเทศเป็นสำคัญ
ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น ได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิตติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ-กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และได้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสขึ้นในปี พ.ศ. 2493 และสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี
ทรงได้เข้าพิธีพระบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังจากพระราชะธีพระบรมราชาภิเษกแล้วได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทำการรักษาพระสุขภาพอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตามคำแนะนำของแพทย์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ และทรงนิวัตกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2494





พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี มีพระโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ ได้แก่
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี 
ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับชาวต่างชาติ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ 
ประสูติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ต่อมาได้นับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาราช สยามมงกุฎราชกุมาร

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ 
ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุรากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี 
ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2500




พระราชประวัติการศึกษา


เมื่อพุทธศักราช 2475 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเจริญพระชนมายุ 5 พรรษา ได้ทรงเข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียน มาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ ขณะนั้น ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ การเมืองผันผวน ในเดือน กันยายน 2476 หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา จึงทรงนำพระธิดา พระโอรส เสด็จไปประทับ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงรับการศึกษา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเข้ารับการศึกษา ชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียน เมียร์มองต์ ชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน เอโกล นูแวล เดอ ลา สวิส โรมองต์ และโรงเรียน ยิมนาส กลาซีค กังโตนาล ตามลำดับ และทรงได้รับประกาศนียบัตร บาเชอลิเย เอ แลทร์ จากการศึกษา ดังกล่าวทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน ต่อจากนั้น ทรงเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์
ครั้นถึงวันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติรัฐบาลจึงกราบทูลอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งสืบสายราชสันตติวงศ์ ลำดับที่ 1 และมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งได้ทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงสถาปนา หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา เป็น พระราชชนนีศรีสังวาลย์ และทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยานิวัฒนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ได้โดยเสด็จพระบรมเชษฐาธิราช สมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ นิวัฒพระนคร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2481 ประทับ ณ พระตำหนัก จิตลดารโหฐาน สวนจิตลดา เป็นเวลา 2 เดือน แล้วเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์

ต่อมาได้เสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 5 ธันวาคม 2488 ในครั้งนี้ ปวงชนชาวไทยในแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับเป็นประมุขยาวนานกว่า สิบปี ต่างปลาบปลื้มปิติชื่นชมโสมนัส ที่ได้ชื่นชมพระบารมี สมเด็จพระยุวกษัตริย์ ซึ่งมีพระชนมพรรษา เพียง 20 พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระชนมพรรษา 18 พรรษา
ทั้งสองพระองค์เสด็จเสด็จพระราชดำเนินเคียงคู่กันไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ ที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง แต่ความชื่นชมโสมนัสนั้น ดำรงอยู่มินาน ครั้งถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง

พระราชประวัติเสด็จขึ้นครองราชย์
ขณะที่พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีงาศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน นั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และรัฐบาล ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชกาลแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษา ต่อ ณ ต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2498 ได้เสด็จพระราชดำเนิน กลับไปทรงศึกษา ต่อ ณ กรุงโลซานน์ แม้พระองค์จะทรงโปรดวิชาวิศวกรรมศาสตร์แต่เพื่อประโยชน์ในการปกครองประเทศได้ทรงเปลี่ยนมาศึกษา วิชาการปกครองแทน เช่น วิชากฎหมาย อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ทรงศึกษา และฝึกฝนการดนตรีด้วยพระองค์เองด้วย
ใน พ.ศ. 2491 ระหว่างทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงขับรถยนต์ไปทรงร่วมงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้ทรงพบและมีพระราชหฤทัยสนิทเสน่หาใน หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส
ในปีเดียวกันนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง ทรงบาทเจ็บที่พระพักตร์พระเนตรขวา และพระเศียร ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมอร์เซส์ โปรดฯให้หม่อมเจ้าราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระสัมพันธภาพจึงแน่นแฟ้นขึ้น และต่อมาได้ทรงหมั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 โดยได้พระราชทานพระธำมรงค์วงที่สมเด็จพระบรมราชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่งจากสมเด็จพระราชชนนี จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง และมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ ซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อมด้วยทศพิศราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรมและราชสังคหวัตถุ ทรงเจริญด้วยพระเกียรติคุณบุญญาธิการเจิดจำรัส ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน


พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2493 และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ทรงจดทะเบียนสมรส ตามกฏหมายเช่นเดียวกับประชาชน ได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น พระราชินีสิริกิติ์

หลังจากนั้น ได้เสด็จไปประทับพักผ่อน ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน และที่นี่เป็นแหล่งเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ พระราชทาน “ ถนนสายห้วยมงคล” ให้แก่ “ ลุงรวย” และชาวบ้านที่มาช่วยกันเข็นรถพระที่นั่งขึ้นจากหล่มดิน ทั้งนี้เพราะแม้ “ ห้วยมงคล” จะอยู่ห่างอำเภอหัวหินเพียง 20 กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทาง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมาก ถนนสายห้วยมงคล นี้จึงเป็นถนนสายสำคัญ ที่นำไปสู่โครงการในพระราชดำริ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรอีกจำนวนมากกว่า 2,000 โครงการในปัจจุบัน


พระบรมราชาภิเษก
วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
“ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
วันที่ 5 มิถุนายน 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ไปยังสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง เพื่อทรงรักษาพระสุขภาพ และเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร เมื่อ 2 ธันวาคม 2494 ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระที่นั่งอัมพรสถาน
ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดา และพระราชโอรส 4 พระองค์ดังนี้
1 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อ 4 เมษายน 2494 ณ โรงพยาบาลมองซัวนี่ โลซานน์
2 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อ 28 กรกฏคม 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมา ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ 28 กรกฏคม 2515
3 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์ ประสูติเมื่อ 2 เมษายน 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2520
4 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อ 4 กรกฏาคม 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

ทรงพระผนวช
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ปฏิบัติพระศาสนกิจ เป็นเวลา 15 วัน ระหว่างนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในรัชกาลนี้ ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมชนกนาถ ขึ้นเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงสถาปนา สมเด็จพระราชชนนี เป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสถาปนา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลนาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวาสราชนครินทร์ และทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ใหม่ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2539 เพื่อให้สมพระเกียรติตามโบราณขัตติยราชประเพณี ทั้งนี้ด้วยพระจริยวัตรอันเปี่ยมด้วยพระกตัญญูกตเวทิตาธรรม อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ พระปรมาภิไธยใหม่ที่ทรงสถาปนาคือ
“ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศนิวิฐ ทศพิศราชธรรมอุกษฏนิบุณ อดุลยกฤษฏาภินิหารรังสฤษฏ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตร โสภาคย์สรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรษราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฏาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”


พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่น

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นประมุขแห่งประเทศไทย เป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ชาวไทยตลอดพระชนมายุของพระองค์ โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ คือ การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศ ดังในปฐมพระบรมราชโองการในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม
ในปี พ.ศ. 2539 จากการที่พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชนอย่างหนัก จึงได้มีการลงนามโดยประชาชนชาวไทยเพื่อถวายสมัญญานามให้ทรงเป็น "มหาราช"

พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรและการยกระดับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน


The king (main).jpeg
การเกษตรนั้นถือได้ว่าเป็นทั้งรากฐานและชีวิตสำหรับประเทศของเรา เพราะคนไทยเราส่วนใหญ่เป็นผู้มีอาชีพทางเกษตรกรรม. ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นเสมอมาว่า วิธีการพัฒนาที่เหมาะสมแก่ประเทศเราอย่างยิ่ง ก็คือจะต้องทำนุบำรุงเกษตรกรรมทุกสาขาให้พัฒนาก้าวหน้า เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกระดับให้สูงขึ้น ด้านการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจด้านนี้ พระองค์ได้เสด็จเยี่ยม ไต่ถามความทุกข์สุขของประชาชน และรับฟังข้อปัญหาเกิดเป็นโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชลประทาน การพัฒนาดิน การวิจัยพันธุ์พืชและปศุสัตว์ เป็นต้น ดังหัวข้อต่อไปนี้

ทรัพยากรน้ำ

ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร พระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยพระราชทานแก่ คณะผู้อำนวยการสำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ว่า
หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตนั้นอยู่ที่น้ำ ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ [3]
โครงการตามพระราชดำริของพระองค์ มีทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย รวมไปถึงการบำบัดน้ำเสีย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำมีทั้งโครงการขนาดใหญ่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมได้ เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่จังหวัดลพบุรี จนถึงโครงการขนาดกลางและเล็กจำพวก ฝาย อ่างเก็บน้ำ โดยพระองค์ทรงคำนึงถึงลักษณะของภูมิประเทศ สภาพแหล่งน้ำ ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ ประชาชนที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากโครงการ มาเป็นหลักในการพิจารณา พระองค์ได้ทรงวิจัยและริเริ่มโครงการฝนหลวง เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งสำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน
ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และน้ำเน่าเสียในคูคลอง ทรงมีพระราชดำริเรื่องแก้มลิง ควบคุมการระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนลำคลองต่าง ๆ ลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ทั้งยังเป็นการใช้น้ำดีไล่น้ำเสียออกจากคลองได้อีกด้วย เครื่องกลเติมอากาศ กังหันชัยพัฒนา ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการเพิ่มออกซิเจน เป็นสิ่งประดิษฐ์หนึ่งของพระองค์ที่ได้รับสิทธิบัตรจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖

เกษตรทฤษฎีใหม่

เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ ได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าว พื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่นานาพันธุ์ และที่สำหรับอยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ในอัตราส่วน 3:3:3:1 เป็นหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้
  1. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
  2. มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียง ต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี
  3. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย 3 ขั้นตอน เพื่อให้พอเพียงสำหรับเลี้ยงตนเองและเพื่อเป็นรายได้

เศรษฐกิจพอเพียง

ศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[3]
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสีศ.เสน่ห์ จามริกศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ

พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พระองค์ทรงใช้ประสบการณ์และแนวพระราชดำริ โครงการหลวงในการพัฒนาและวิจัย พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศ

พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข


ในหลวงประทับพื้น.jpgพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วง และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความทุกข์ของไพร่ฟ้าจากพยาธิภัย ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และแพทย์อาสาสมัคร โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้รักษาผู้ป่วยไข้ได้ทันที นอกเหนือจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ริเริ่มหลายโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้
  • โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
  • โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน
  • โครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์
  • หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน
  • โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
  • โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้พระราชทาน
  • โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์
  • หน่วยงานฝ่ายคนไข้ ในกองราชเลขานุการ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาแพทยศาสตร์ตอนหนึ่งว่า
จึงใคร่ขอร้องให้ทุก ๆ คนตั้งใจ และพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลสมบูรณ์จริง ๆ อย่าปล่อยให้กำลังของชาติต้องเสื่อมถอยลงเพราะประชาชนเสียสุขภาพอนามัย [4]
นับเป็นพระราชดำรัสที่แสดงถึงความตั้งพระทัยในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรอย่างแท้จริง ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดมั่นที่จะสืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย และสมเด็จพระบรมราชชนนี พระมารดาของการแพทย์ชนบท ในการที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติสืบไป

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา


The king gives a fund.jpg



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าการศึกษาของเยาวชนนั้นเป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆเพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษาหาความรู้ต่อ ดังพระราชดำรัสที่ว่า
การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล หากสังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนในทุกๆ ด้านแล้ว สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ สามารถดำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ และพัฒนาก้าวหน้าต่อไปโดยตลอด 

พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้

โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์

โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้การอุปถัมป์ในด้านต่างๆ เช่น ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนและพระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อสนับสนุนและเป็นกำลังใจแก่ครูและนักเรียนของโรงเรียน โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์มีทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ดังนี้

ทุนการศึกษาพระราชทาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบดีว่าเด็กและเยาวชนของไทยมิได้ขาดสติปัญญา หากแต่ด้อยโอกาสและขาดทุนทรัพย์สำหรับการศึกษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อก่อตั้งกองทุนการศึกษาหลายขั้นหลายทุน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ดังนี้
The king and anantamahidol scholarship.jpg
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แก่นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นในด้านต่างๆ ให้นิสิตนักศึกษาเหล่านั้นได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้วิชาการชั้นสูงในต่างประเทศ และนำความรู้นั้นกลับมาใช้พัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
  • ทุนเล่าเรียนหลวง
  • ทุนมูลนิธิภูมิพล
  • ทุนการศึกษาสงเคราะห์ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์
  • ทุนมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัย
  • ทุนนวฤกษ์
  • ทุนการศึกษาพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะกรณี

[แก้]โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

Thai junior encyclopedia.JPG
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเริ่มดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า
หนังสือประเภทสารานุกรมนั้น บรรจุสรรพวิชาการอันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนง เมื่อมีความต้องการหรือพอใจจะเรียนรู้เรื่องใด ก็สามารถค้นหาอ่านทราบโดยสะดวก นับว่าเป็นหนังสือที่มีประโยชน์เกื้อกูลการศึกษาเพิ่มพูนปัญญาด้วยตนเองของประชาชนอย่างสำคัญ โดยเฉพาะในยามที่มีปัญหาการขาดแคลนครูและที่เล่าเรียนเช่นขณะนี้ หนังสือสารานุกรมจะช่วยคลี่คลายให้บรรเทาเบาบางลงได้เป็นอย่างดี[6]
ปัจจุบันโครงการฯ ได้จัดทำหนังสือสารานุกรมไทยที่บรรจุความรู้ใน ๗ สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เกษตรศาสตร์แพทยศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ขณะนี้มีออกมาแล้ว ๒๘ เล่ม โดยแต่ละเล่มได้จัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ตามพื้นฐานของตน

[แก้]พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

The king and graduation ceremony.jpg
ในทุกๆ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา แม้พระราชกรณียกิจนี้จะเป็นภาระแก่พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์มาก แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชกระแสรับสั่งให้คงพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเอกชนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชทานแทนพระองค์

[แก้]พระราชกรณียกิจด้านศาสนา

พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในการเปิดพระราชพิธีเนื่องในวโรกาสต่างๆอาทิเช่น พระราชพิธีบำเพ็ญการกุศล ทรงสนับสนุนให้มีการสร้างศาสนสถาน อีกทั้งยังทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนา ไม่ใช่เฉพาะแต่ศาสนาที่พระองค์ทรงนับถือ เนื่องจากทุกศาสนาต่างสอนให้คนเป็นคนดี

[แก้]พระราชกรณียกิจด้านความมั่นคงภายในประเทศ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรชาวไทยว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ตลอดระยะเวลา 60 ปีของการเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงปกครองประเทศ พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าตลอดจนผู้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารต่างได้รับความร่วมเย็นเป็นสุขภายใต้พระบารมีและพระบรมเดชานุภาพเป็นที่ประจักษ์ของผู้คนทั้งหลาย พระองค์ได้เสด็จฯ เยี่ยมพสกนิกรไปทุกหนทุกแห่งได้ทรงพบผู้คนในระดับล่าง แลกเปลี่ยน รับรู้ และทรงเข้าใจในสภาพความเป็นอยู่ของคนเหล่านั้นและได้นำข้อเท็จจริงทั้งหลายอันนำมาซึ่งความทุกข์ยากต่างๆที่คนเหล่านั้นประสบมาหาแนวทางช่วยเหลือแก้ไข เป็นที่มาของโครงการพระราชดำริมากมายกว่าหนึ่งพันโครงการ พิสูจน์ให้เห็นถึงพระปฐมบรมราชโองการดังกล่าวว่า พระองค์ท่าน "ครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" อย่างแท้จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญา ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ มากมาย โดยคำนึงถึงประโยชน์สุขของพสกนิกรเป็นหลัก ตลอดระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติ พระองค์ทรงให้ทุกอย่างกับพสกนิกรและชาติบ้านเมือง ทรงงานอย่างหนักเสียสละประโยชน์สุขส่วนพระองค์ ตรากตรำพระวรกายอย่างไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก เพียงเพื่อมุ่งหวังให้พสกนิกรทั่วราชอาณาจักรมีความสงบร่มเย็นและมีความกินดีอยู่ดี พระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยนั้น...ใหญ่หลวงนัก สมดังที่ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ในวันที่ 19 สิงหาคม 2489 เมื่อกำหนดเวลาที่จะเสด็จฯ กลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์มาถึง ตลอดทางที่รถพระที่นั่งแล่นผ่านฝูงชนที่มาส่งเสด็จอย่างล้นหลาม ได้ทอดพระเนตรเห็นประชาชนที่แสดงความจงรักภักดี บางแห่งใกล้จนทอดพระเนตรเห็นดวงหน้าและแววตาชัด ที่บ่งบอกถึงความเสียขวัญอย่างใหญ่หลวง ทั้งเต็มไปด้วยความรักและห่วงใย อันเป็นภาพที่ทำให้อยากรับสั่งกับเขาทุกคน ถึงความหวังดีที่ทรงเข้าพระทัย และขอบใจเขาเช่นกัน ขวัญของคนเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าขาดกำลังใจ ถ้าขวัญเสียมีแต่ความหวาดระแวง ประเทศจะมีแต่ความอ่อนแอและแตกสลาย ท่ามกลางเสียงโห่ร้องถวายพระพร ก็มีเสียงหนึ่งที่ตะโกนแทรกมาเข้าพระกรรณว่า “ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน” ในขณะนั้นทรงนึกตอบในพระทัยว่า “ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนได้อย่างไร” เหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นภาพที่ติดอยู่ในพระราชหฤทัยจนไม่อาจทรงลืมได้ จากเดิมที่ทรงตัดสินพระทัยเพียงว่า จะทรงอยู่จนถึงวันพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพสมเด็จพระบรมเชษฐาเสร็จสิ้นเท่านั้น กลับทำให้ทรงได้คิดว่า ทรงมีหน้าที่เพื่อชาติ และถึงโอกาสแล้วที่ควรจะทรงทำหน้าที่เพื่อชาติและประชาชน ตามที่ทรงได้รับมอบมา ประชาชนจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัดสินพระทัยแน่วแน่ ที่จะอยู่ทำหน้าที่ตามที่ประชาชนพร้อมใจกันทูลเกล้าฯ ถวายพระราชภาระแสนยิ่งใหญ่ “ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา” จรดปลายปากกาเขียนไว้ในหนังสือ “ทำเป็นธรรม” เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ว่า ในการตัดสินพระทัยที่ทรงรับพระราชภาระจากสมเด็จพระบรมเชษฐาในครั้งแรก คงจะทรงรับเพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะพระพักตร์ในเวลาอันรวดเร็ว ที่จะต้องตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เอง ไม่มีใครที่จะถวายความเห็นได้ หันพระพักตร์ไปทางไหนก็ทรงพบแต่ความโศกเศร้า สมเด็จพระราชชนนีได้แต่ทรงพระกันแสง ไม่เสวย ไม่บรรทม แม้พระองค์เองก็แทบจะหมดพระสติ สิ่งที่ทรงรำลึกถึงคือ จะต้องทรงจัดงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมเชษฐาให้สมพระเกียรติ อย่างไรก็ดี แม้จะทรงตัดสินพระทัยขึ้นครองราชย์ตามการกราบบังคมทูลเชิญของรัฐสภา แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีอีกหนึ่งภารกิจสำคัญ นั่นคือ การเสด็จฯกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ขณะนั้นจิตใจของประชาชนตกอยู่ในความเสียขวัญ ทรงถือเป็นมิ่งขวัญพระองค์เดียวที่ประชาชนจะยึดมั่นได้ พระราชนิพนธ์บันทึกประจำวันบางส่วนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันเสด็จฯจากสยามสู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คงพอจะสะท้อนให้เห็นถึงความรักของประชาชน ที่พร้อมใจส่งเสด็จอย่างมืดฟ้ามัวดิน
...วันที่ 19 สิงหาคม 2489 วันนี้ถึงวันที่เราจะต้องจากไปแล้ว พอถึงเวลาก็ลงจากพระที่นั่งพร้อมกับแม่ ลาเจ้านายฝ่ายใน ณ พระที่นั่งชั้นล่างนั้นแล้ว ก็ไปยังวัดพระแก้วเพื่อนมัสการลาพระแก้วมรกต และพระภิกษุสงฆ์ ลาเจ้านายฝ่ายหน้า ลาข้าราชการทั้งไทยและฝรั่ง แล้วก็ไปขึ้นรถยนต์ พอรถแล่นออกไปได้ไม่ถึง 200 เมตร มีผู้หญิงคนหนึ่งเข้ามาหยุดรถแล้วส่งกระป๋องให้เราคนละใบ ราชองครักษ์ไม่แน่ใจว่าจะมีอะไรอยู่ในนั้น บางทีจะเป็นลูกระเบิด เมื่อมาเปิดดูภายหลังปรากฏว่าเป็นทอฟฟี่ที่อร่อยมาก ตามถนนผู้คนช่างมากมายเสียจริงๆ ที่ถนนราชดำเนินกลาง ราษฎรเข้ามาใกล้จนชิดรถที่เรานั่ง กลัวเหลือเกินว่าล้อรถของเราจะไปทับแข้งทับขาใครเข้าบ้าง รถแล่นฝ่าฝูงคนไปได้อย่างช้าที่สุด ถึงวัดเบญจมบพิตร รถแล่นเร็วขึ้นได้บ้าง ตามทางที่ผ่านมา ได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆว่า “อย่าละทิ้งประชาชน” อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า ถ้าประชาชนไม่ “ทิ้ง” ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ “ละทิ้ง” อย่างไรได้ แต่รถวิ่งเร็วและเลยไปไกลเสียแล้ว...
เมื่อทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่ว่า จะทรงดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศ จึงทรงมุ่งมั่นศึกษา เพื่อเตรียมพระองค์ให้พร้อมรับพระราชภารกิจ โดยทรงเปลี่ยนแนวทางการศึกษาใหม่เป็นรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ อย่างไรก็ดี ทรงยืนกรานที่จะศึกษาจนสำเร็จก่อน แล้วค่อยเสด็จนิวัตประเทศไทย เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กระทั่งเดือนมีนาคม ปี 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จนิวัตประเทศไทย เพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระบรมเชษฐา หลังจากนั้นในวันที่ 28 เมษายน ปีเดียวกัน ความโศกสลดของปวงชนชาวไทยได้ทุเลาเบาบางลงบ้าง เมื่อทรงจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสี และต่อมาได้รับการสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศขึ้นเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี” และแล้ววันที่ประชาชนชาวไทยรอคอยก็มาถึง เมื่อพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตามโบราณราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 โดยครั้งนั้น ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐานจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทย โดยทศพิธราชธรรมจริยา ขณะประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร นับแต่วินาทีนั้นเป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงยึดถือพระปฐมบรมราชโองการเป็นแนวทางแห่งการปกครองแผ่นดิน โดยทรงตั้งพระราชปณิธานว่า จะทรงร่วมรับมิว่าทุกข์หรือสุขของประชาชน เท่ากับทุกข์หรือสุขของพระองค์เอง จะทำความดี พัฒนานำความเจริญความสุขสวัสดีมาสู่ประเทศชาติอย่างแน่วแน่ และดีที่สุดที่จะทรงทำได้ อย่างไรก็ดี เนื่องจากความจำเป็นทางพระสุขภาพ ที่จะต้องทรงอยู่ในความดูแลของแพทย์ จึงตัดสินพระทัยเสด็จฯไปสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2493 โดยหนึ่งปีหลังจากนั้น ได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรกคือ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี” ที่เมืองโลซานน์ แต่ด้วยหน้าที่และสมควรแก่เวลา ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริจะเสด็จฯ กลับเมืองไทย เพื่อทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชน... วันที่ 2 ธันวาคม 2494 พระประมุขแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี และพระราชธิดาองค์โต ได้เสด็จนิวัตเมืองไทยถาวร ท่ามกลางความปลื้มปิติยินดีของประชาชน ซึ่งมารอเฝ้าฯ แน่นขนัดตลอดเส้นทางการเสด็จฯ เมื่อทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น จึงทรงมั่นพระทัยว่า ประชาชนยังไม่ลืมพระองค์ และทุกคนพร้อมเป็นกำลังพระทัยแด่พระองค์เสมอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงปล่อยเวลาให้ล่วงเลยโดยเปล่าประโยชน์ หลังเสด็จนิวัตประเทศไทยถาวรได้ไม่นาน ก็ทรงเริ่มศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาประเทศตามที่ทรงตั้งพระทัยไว้ โดย “หัวหิน” เป็นแห่งแรกที่ทรงเริ่มสำรวจพื้นที่ ดิน น้ำ อาชีพ และความเป็นอยู่ของประชาชน เนื่องจากมีพระตำหนักที่เสด็จฯไปประทับแทบทุกปี ทรงเริ่มต้นทดลองพัฒนาจากตำบลที่ใกล้พระเนตรก่อน โดยได้ทรงบุกป่าฝ่าดงเข้าไปในหมู่บ้านทุรกันดาร ระยะนั้น ทั้งสองพระองค์เสด็จออกแทบทุกวัน ทรงตระเวนไปแทบทุกตำบลจากหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี จากนั้น ก็เสด็จเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภาค ทั้งภาคกลาง, อีสาน, เหนือ และใต้ แต่ละภาคจะเสด็จฯนานเป็นแรมเดือน โดยทุกภาคที่เสด็จฯผ่านมา ล้วนแต่ ทุรกันดารห่างไกลความเจริญ กระนั้น ทั้งสองพระองค์ก็ทรงปรับพระองค์ได้อย่างดีเยี่ยม ไม่เคยทรงปริพระโอษฐ์บ่น และจะทรงปรึกษาหารือกันตลอดถึงสิ่งที่ทรงพบเห็นเพื่อหาทางแก้ไข และช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตลอดระยะเวลา 60 ปีของการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มโครงการในพระราชดำริเพื่อการพัฒนาประเทศไว้มากมาย ทรงใช้เวลาศึกษาแผ่นดินไทย และรายละเอียดของพื้นดิน ภูมิประเทศหลักๆของแหล่งน้ำการเกษตร ความต้องการของประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพว่าถิ่นไหนเหมาะแก่การครองชีพอย่างไร โดยทรงทราบถึงความทุกข์ของประชาชนผ่านการถ่ายทอดจากปากสู่พระกรรณ และจากสายพระเนตรที่ทรงพบเห็นด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่เริ่มแรกเสด็จขึ้นครองราชย์จนถึงปัจจุบัน ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งมูลนิธิ 7 มูลนิธิ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกกว่า 2,000 โครงการ โดยล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และพัฒนาน้ำเป็นอันดับแรก รองลงมาก็คือดิน ธรณีวิทยา การเกษตรทั้งหลาย ตลอดจนการจัดสรรที่ดิน รวมถึงการอนุรักษ์และพัฒนาป่า โครงการที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับทั่วโลก มีอาทิ “โครงการหลวง” กำเนิดขึ้นจากการที่ได้ทอดพระเนตรถึงปัญหาการปลูกฝิ่น และทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขา จึงมีรับสั่งให้ทดลองหาพืชเมืองหนาวให้ชาวเขาปลูกแทนฝิ่น, “โครงการฝนหลวง” กำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของประชาชนในถิ่นทุรกันดาร ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม ทรงศึกษาค้นคว้าแนวทางการทำฝนหลวงด้วยพระองค์เอง ก่อนจะโปรดเกล้าฯให้ดำเนินการทดลองในท้องฟ้าจริงเป็นครั้งแรก ที่วนอุทยานเขาใหญ่ เมื่อปี 2512 ซึ่งสำนักสิทธิบัตรยุโรปได้ออกสิทธิบัตรถวาย นับเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกและพระองค์เดียวในโลก และล่าสุดที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงคือ โครงการพัฒนาคนตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งได้พระราชทานเป็นแนวทางการพัฒนาคนอย่างยั่งยืน และเป็นหนทางแก้ไขวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ทั้งหลายทั้งปวงนี้คือ พระราชสัตยาอธิษฐานที่ทรงตั้งปณิธานมาตลอด 6 ทศวรรษการครองสิริราชสมบัติ พระองค์ไม่เพียงแต่จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก แต่ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลกอีกด้วย

[แก้]พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

The king and foreign.jpeg
ATrelations0018a-1.jpg
King thai and king japan.jpeg
ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ถึง ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวม ๒๗ ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญพระราชไมตรีกับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้นให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปมอบให้กับประชาชนในประเทศต่างๆ โดยรายชื่อประเทศต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือน มีตามลำดับดังนี้
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีก เพราะทรงเห็นว่าพระราชภารกิจภายในประเทศนั้นมีมากมาย อย่างไรก็ตาม หากประมุขหรือรัฐบาลของประเทศใดกราบบังคมทูลเชิญให้เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชโอรส หรือพระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี รวมทั้งเพื่อทอดพระเนตรวิทยาการ และศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ
จนกระทั่งวันที่  - ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศลาว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งนับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีกครั้ง หลังจากที่ว่างเว้นมาเป็นเวลานานกว่า ๓๐ ปี
พระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น รวมไปถึงการเสด็จพระราชดำเนินออกให้การต้อนรับราชอาคันตุกะจากประเทศต่างๆ ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้บรรดาทูตานุทูตเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสาส์นตราตั้งในการเข้ามารับตำแหน่งในประเทศไทย และถวายบังคมทูลลาเมื่อครบวาระอีกด้วย

[แก้]พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม

  • ทรงตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย
  • ทรงตั้งโรงละครหลวงขึ้นเพื่อส่งเสริมการแสดงละครในหมู่ข้าราชบริพาร
  • ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย เช่น ตึกอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

[แก้]พระราชกรณียกิจด้านการกีฬา

เรือใบเป็นกีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเป็นตัวแทนของประเทศไทยลงแข่งเรือใบในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยทรงเข้าค่ายฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกซ้อม และทรงได้รับเบี้ยเลี้ยงในฐานะนักกีฬา เช่นเดียวกับนักกีฬาคนอื่น ๆ ในที่สุด ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทอง จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ท่ามกลางความปลื้มปีติของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ และเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทั่วโลก ทำให้พระอัจฉริยภาพทางกีฬาเรือใบของพระองค์ที่ยอมรับกันทั่วโลก พระองค์ยังได้ทรงออกแบบและประดิษฐ์เรือใบยามว่างออกมาหลายรุ่น พระองค์พระราชทานนามเรือใบประเภทม็อธ (Moth) ที่ทรงสร้างขึ้นว่า เรือใบมด เรือใบซูเปอร์มด และ เรือใบไมโครมด ถึงแม้ว่าเรือใบลำสุดท้ายที่พระองค์ทรงต่อคือ เรือโม้ค (Moke) เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เรือใบซูเปอร์มดยังถูกใช้แข่งขันในระดับนานาชาติที่จัดในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายคือเมื่อ พ.ศ. 2528 ในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13
นอกเหนือจากกีฬาเรือใบแล้ว ยังทรงเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ เช่น แบดมินตัน เทนนิส ยิงปืน เป็นต้น

ที่มา
http://th.wikipedia.org